กลับหน้าหลัก

ประเภทของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ พันธะสัญญา
1.การแจ้งเอกสารหาย 1.พบเจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันเพื่อลงบันทึกประจำวัน ภายใน 10 นาที
2.พนักงานสอบสวนลงนามในประจำวัน
3.เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันมอบสำเนาบันทึกประจำให้ผู้แจ้งประชาชนสามารถใช้บริการได้เพิ่มเติมที่ตู้ยามตำรวจ ที่ทำการตำรวจชุมชน หรือรถยนต์โมบายเคลื่อนที่ของสถานี
2.การเปรียบเทียบตามใบสั่ง 1.นำใบสั่งไปพบพนักงานสอบเพื่อกำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับ ภายใน 25 นาที
2.ชำระค่าปรับที่เสมียนเปรียบเทียบปรับ รับใบเสร็จและใบอนุญาตขับขี่(กรณีไม่โดนตัดคะแนน)ประชาชนสามารถใช้บริการชำระค่าปรับทาง
ไปรษณีย์ได้
3.การขอสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี 1.ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาบันทึกประจำวันต่อพนักงานสอบสวน ภายใน 15 นาที
2.หัวหน้าสถานีพิจารณามีความเห็นอนุญาตหรือไม่อนุญาต
3.เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันสำเนาบันทึกประจำวันให้พนักงานสอบสวนรับรองสำเนาถูกต้องมอบให้ผู้แจ้ง
4.การขอถอนคำร้องทุกข์ 1.พนักงานสอบสวนเวรเจ้าของคดีหรือร้อยเวรตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง ภายใน 1 ชั่วโมง
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบคดีและอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดี
3.บันทึกปากคำและลงลายมือชื่อในสมุดบัญชี ยึดและรักษาทรัพย์(กรณียึดของกลาง ลงบันทึกการถอนคำร้องทุกข์คดีความผิดอันยอมความได้
5.การแจ้งความเป็นฐานกรณีไม่เกี่ยวคดี 1.พนักงานสอบสวนซักถามรายละเอียดข้อเท็จจริงและตรวจสอบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องอธิบายข้อกฎหมาย ภายใน 1 ชั่วโมง
2.ลงบันทึกประจำวัน
6.การขอประกันตัวผู้ต้องหา 1.ผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องนำหลักประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อพนักงานสอบสวน ภายใน 1 ชั่วโมง
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐาน
3.บันทึกสัญญาประกันและพิจารณามีความเห็นให้ประกันหรือไม่
4.ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ประกัน
5.กรณีอนุญาต จะออกหลักฐานรับหลักประกันและสัญญาประกันคู่ฉบับมอบให้นายประกัน
6.เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันทำการบันทึกประจำวันเพื่อปล่อยตัวหรือไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหา
7.การคืนหลักทรัพย์ที่นำมาประกันผู้ตอ้งหา 1.นำหลักฐานรับหลักประกันตัวผู้ต้องหาพบพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ห้องคดี ภายใน 1 ชั่วโมง
2.พนักสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ห้องคดีตรวจสอบและบันทึกผลคดีถึงที่สุดหรือบันทึกเหตุที่ถอนคดีได้
3.พนักงานสอบสวนมีความเห็นให้ถอนสัญญาประกัน
4.เจ้าหน้าที่เสมียนประจำวันลงบันทึกประจำวันและมอบหลักทรัพย์คืนให้นายประกัน
8.การตรวจสอบสภาพรถในคดีจราจร 1.พนักงานสอบสวนทำบันทึกส่งรถไปตรวจสภาพ ภายใน 2 ชั่วโมง
2.นำรถไปตรวจสอบสภาพที่กองบังคับการตรวจจราจรหรือผู้ชำนาญ แต่ต้องสอบสวนให้ปรากฎ
9.การคืนของกลางกรณีศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดไม่ริบหรือพนักงานอัยการแจ้งให้คืน 1.นำหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องพบพนักงานสอบสวน ภายใน 2 ชั่วโมง
2.พนักงานสอบสวนตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาความเห็นเสนอผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลาง
3.ลงบันทึกประจำวันคืนของกลางและลงลายมือชื่อรับในสมุดบัญชียึดและรักษาทรัพย์พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือถึงผู้เสียหาย
10.การแจ้งความคืบหน้าของคคี เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมผู้ต้องหาเป็นผู้แจ้งหรือประสานงานตำรวจท้องที่ที่ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจมีภูมิลำเนาอยู่เป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
11.การแจ้งให้ญาติหรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจทราบการจับกุม เมื่อผู้ถูกจับกุมร้องขอ เจ้าพนักงานตำรวจผู้ควบคุมผู้ต้องหาเป็นผู้แจ้งหรือประสานงานตำรวจท้องที่ที่ญาติ หรือบุคคลที่ผู้ต้องหาไว้วางใจมีภูมิลำเนาอยู่เป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
พันธะของงานป้องกันปราบปราม สภ.สารภี
ประเภทของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ พันธะสัญญา
1. การบริหารงานสายตรวจ สถานีมีองค์ประกอบในการบริหารงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ได้แก่ห้องปฏิบัติการสายตรวจ ข้อมูลในการวางแผนป้องกันอาชญากรรม เครื่องมือสื่อสาร แผนเผชิญเหตุ แผนที่สถานภาพอาชญากรรม ตำรวจสายตรวจที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี ความร่วมมือจากประชาชนในการให้ข้อมูลข่าวสาร และมีผู้บังคับบัญชาอำนวยการในพื้นที่ บริการตลอด 24 ชม.
2.ความพร้อมในการป้องกันปราบปราม สถานีมีองค์ประกอบในการบริหารงานป้องกันปราบปรามและให้บริการประชาชนตลอด 24 ชม. โดยแบ่งพื้นที่การตรวจเป็น 5 เขตตรวจ แต่ละเขตมีตำรวจสายตรวจจำนวน 2 นาย สายตรวจรถยนต์ 2 นาย และ ตู้ยาม จำนวน 12 ตู้  ประจำทุกตำบล บริการตลอด 24 ชม.
3. การระงับเหตุ/ให้บริการ เจ้าหน้าที่ตำรวจไประงับเหตุหรือให้บริการตามที่รับแจ้งภายในเวลา 5 นาที เริ่มนับเวลาที่ผู้แจ้งติดต่อแจ้งเหตุหรือขอรับบริการมายังตำรวจจนกระทั่งเจ้าห้าที่ตำรวจไปยังจุดเกิดเหตุหรือจุดที่ให้บริการช่วงเวลาที่ต้องคำนึง  ระยะเวลาที่โทรศัพท์แจ้งเหตุครั้งแรก ช่วงเวลาที่พนักงานโทรศัพท์ส่งข้อมูลไปยังสายตรวจ ช่วงเวลาการเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุ (ปัจจัยที่ควรคำนึง ลักษณะพื้นที่ ความสะดวก เครื่องมือสื่อสาร ยานพาหนะของสายตรวจ สภาพการจราจร และอื่นตามสภาพของพื้นที่ 5 นาที
4. การควบคุมผู้ต้องหา ผู้ต้องหา/ผู้ต้องกักขัง จะได้รับการควบคุมอย่างปลอดภัยในห้องควบคุมที่สะอาด เหมาะสม และสิทธิอื่นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  
5. การรับโทรศัพท์แจ้งเหตุของสถานี การรับโทรศัพท์มาแจ้งเหตุที่สถานีตำรวจ จะจัดโทรศัพท์รับแจ้งเหตุไว้โดย เฉพาะจำนวน 2 หมายเลข โดยใช้ระบบคนตอบรับ 0-5332-1090 และ 0-5332-2995 บริการตลอด 24 ชม.
4. การขออำนวยความสะดวกด้านการจราจร  ยื่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีสถานีตำรวจดำเนินการเองได้) ภายใน 1 วัน
ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีต้องขอกำลังหรือประสานกับหน่วยอื่น) ภายใน 3 วัน
5.การขออำนวจความสะดวก กรณีต้องขอใช้ผิวจราจร ยื่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีสถานีตำรวจดำเนินการเองได้) ภายใน 1 วัน
ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีต้องขอกำลังหรือประสานกับหน่วยอื่น) ภายใน 3 วัน
6.การขออำนวยความสะดวกการจราจรกรณีจะต้องออกคำสั่งหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร 1.ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ ภายใน 7 วัน 
2.หัวหน้าสถานีพิจารณามีความเห็น
3.ส่งเรื่องไปยังกองบังคับการ
พันธะของงานจราจร สภ.สารภี
ประเภทของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ พันธะสัญญา
1. การจัดกำลังตำรวจควบคุมและจัดการจราจรประจำทางแยก หรือจุดที่มีปัญหาการจราจรเช่น ทางแยกสถานศึกษาหรือย่านชุมชนสถานศึกษาหรือย่านชุมชน  กำลังประจำทางแยกและจุดสำคัญ 16 จุด กำลัง 16 นาย   
2. จัดกำลังตำรวจไว้อำนวยความสะดวกการจราจร   ช่วงเวลาการจัดสายตรวจ 06.30-22.00 น. สายตรวจจราจรเดินทางถึงที่เกิดเหตุ 5 นาที จำนวนผลัดละ 3 นาย โดยมีรองสารวัตรจราจรควบคุมการปฏิบัติ   
3. การอำนวยความสะดวกด้านการเปรียบเทียบปรับคดีจราจร  1.เมื่อจับกุมแล้วออกใบสั่ง นำใบอนุญาตขับขี่ส่งที่เจ้าหน้าที่เปรียบปรับ ภายใน 1 ชั่วโมง
2.ผู้ถูกจับใบอนุญาตขับขี่นำใบสั่งให้พนักงานสอบสวนเพื่อกำหนดอัตราเปรียบเทียบปรับ ภายใน 15 นาที
3.ชำระค่าปรับตามอัตราค่าปรับที่พนักงานสอบกำหนด และรับใบอนุญาตคืน ภายใน 15 นาที
4. การขออำนวยความสะดวกด้านการจราจร  ยื่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีสถานีตำรวจดำเนินการเองได้) ภายใน 1 วัน
ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีต้องขอกำลังหรือประสานกับหน่วยอื่น) ภายใน 3 วัน
5.การขออำนวจความสะดวก กรณีต้องขอใช้ผิวจราจร ยื่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีสถานีตำรวจดำเนินการเองได้) ภายใน 1 วัน
ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ(กรณีต้องขอกำลังหรือประสานกับหน่วยอื่น) ภายใน 3 วัน
6.การขออำนวยความสะดวกการจราจรกรณีจะต้องออกคำสั่งหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร 1.ยี่นหนังสือต่องานอำนวยการ ภายใน 7 วัน 
2.หัวหน้าสถานีพิจารณามีความเห็น
3.ส่งเรื่องไปยังกองบังคับการ
พันธะสัญญาการให้บริการประชาชน สภ.สารภี
ประเภทของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ พันธะสัญญา
1. การตรวจสอบประวัติสมัครงาน หรือเข้าศึกษาต่อ 1. พบเจ้าหน้าที่เพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกข้อความ    ในเอกสาร ภายใน 1 วัน
2. ส่งเรื่องไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
3. แจ้งผลการตรวจสอบประวัติ
2. การขออนุญาตเล่นงิ้ว 1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อตรวจสอบ หลักฐานเกี่ยวกับ การแสดงงิ้ว การแสดงงิ้ว ภายใน 5 วัน
2. ส่งบทการแสดงใปตรวจสอบที่สันติบาล
3. รับผลการตรวจบทแปลจากสันติบาล
4. แจ้งผลการพิจารณา
3. การขอต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว  1. พบเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้อง ภายใน 30 นาที
2. ชำระเงินค่าธรรมเนียม
3. ลงรายการต่ออายุในใบสำคัญฯ
4. ออกใบสำคัญรับเงิน
5. นายทะเบียนลงนาม
4. แจ้งย้ายภูมิลำเนาคนต่างด้าว (ทั้งกรณีย้ายออกและย้ายเข้า) 1. นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และสำเนาทะเบียนบ้านมาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ ภายใน 30 นาที
2. เขียนคำร้อง
3. เจ้าหน้าที่ธุรการลงรายการในใบสำคัญฯ
4. นายทะเบียนลงนาม
5. (กรณีย้ายเข้า)ทำบันทึกขอรับเอกสารต้นเรื่องของ คนต่างด้าวจากสถานีตำรวจเดิม
5. ขอปิดรูปถ่ายคนต่างด้าวเมื่อครบระยะ 5 ปี 1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการ พร้อมภาพถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน จำนวน 4 รูป ภายใน 30 นาที
2. เขียนคำร้อง
3. เจ้าหน้าที่ประทับตรา
4. นายทะเบียนลงนาม
6. การแจ้งการตายของคนต่างด้าว 1. นำใบสำคัญประจำคนต่างด้าวและใบมรณบัตร พบเจ้าหน้าที่ธุรการ ภายใน 1 ชั่วโมง
2. หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องในในสำคัญประจำคนต่างด้าว
3. นายทะเบียนลงนาม
4. ส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
7. ขอแปลงสัญชาติคนต่างด้าว 1. เมื่อคนต่างด้าวได้รับราชกิจจาฯให้แปลงเป็นสัญชาติไทยแล้ว มาพบเจ้าหน้าที่ธุรการ ภายใน 1 ชั่วโมง
2. หมายเหตุในเอกสารต้นเรื่องในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
3. นายทะเบียนลงนาม
4. ส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
8. การรับใบแทนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่ชำรุดหรือสูญหาย 1. นำหลักฐานใบแจ้งความสูญหายหรือชำรุดพร้อมถ่ายภาพและสำเนาทะเบียนบ้านพบเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อยื่นคำร้อง     และชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ ภายใน 1 ชั่วโมง
2. เจ้าหน้าที่ธุรการออกใบเสร็จ สอบปากคำ ตรวจสอบเอกสาร  และออกเล่มใบสำคัญ
3. นายทะเบียนลงนาม
9. ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวใหม่ (ภายใน 7 วัน) 1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญถิ่นที่อยู่และหนังสือแจ้งนายทะเบียนท้องที่สำนักตรวจคนเข้าเมือง แล้วยื่นคำร้องชำระค่าธรรมเนียม ภายใน 1 ชั่วโมง
2. ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักตรวจคนเข้าเมือง
3. ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4. เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่ให้
5. นายทะเบียนลงนาม
6. ส่งปลายขั้วไปสำนักตรวจคนเข้าเมือง
10. ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวใหม่ (เกินกำหนด 7 วัน)  1. พบเจ้าหน้าที่ธุรการพร้อมใบสำคัญฯ ภายใน 1 ชั่วโมง
2. ตรวจสอบหลักฐานและยืนยันความถูกต้องจากสำนักตรวจคนเข้าเมือง
3. ชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
4. เจ้าหน้าที่ออกเล่มใหม่
5. นายทะเบียนลงนาม
6. ส่งปลายขั้วไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
พันธะสัญญากับข้าราชการตำรวจพันธะสัญญากับข้าราชการตำรวจ
ประเภทของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติ พันธะสัญญา
1. การเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 1. ตร.มีหนังสือสั่งแจ้งหน่วยจัดทำบัญชี(สน.,สภ.,/กก.ฯ)  ภายใน 10 วัน(ปีละ 2 ครั้ง  ตามวาระที่  ตร.กำหนด)
2. คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนของหน่วยจัดทำบัญชีแต่ละระดับประชุมพิจารณา
3. ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง
2. การแต่งตั้งกรณีร้องขอกลับภูมิลำเนา 1. ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับการแต่งตั้งยื่นคำร้องผ่านผู้บังคับบัญชา     ตามลำดับชั้นพิจารณาและมีความเห็น(ผู้บังคับบัญชาในสายงาน,ผกก. ,ผบก.) ภายใน 2 วัน (ตร.พิจารณาปีละ 1 ครั้ง)
2. ผู้บังคับบัญชาระดับ บช. หรือ ตร.ภาค มีความเห็นเสนอ ตร.
3. คณะกรรมการระดับ ตร.พิจารณา
4. ตร. ออกคำสั่งแต่งตั้ง
3. การขอเลื่อนยศ(ชั้นประทวน) 1. ข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเจ้าหน้าที่ธุรการของสถานีตำรวจ ตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคำร้องพร้อมเอกสาร  ภายใน 2 วัน
2. ผู้บังคับบัญชาลงนามตามลำดับขั้นพิจารณาและลงนาม(สน.,สภ./กก.,บก.,/ภ.จว.) เสนอ บช./ ตร.ภาค
3. ผู้มีอำนาจ (ผบช.)ออกคำสั่งแต่งตั้งว่าที่ยศ
4. การเลื่อนยศ(ชั้นสัญญาบัตร) 1. ข้าราชการตำรวจที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเจ้าหน้าที่ธุรการของสถานีตำรวจ ตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคำร้องพร้อมเอกสาร  ภายใน 2 วัน (ตามวาระที่ ตร.กำหนด) 
2. ผู้บังคับบัญชาลงนามตามลำดับขั้นพิจารณาและลงนาม(สน.,สภ./กก.,บก., /ภ.จว.) เสนอ บช./ ตร.ภาค
3. ผู้บังคับบัญชาระดับ บช./ตร.ภาค พิจารณาและลงนามเสนอ ตร.
4. ตร.(โดย สกพ.)ตรวจสอบและเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่งแต่งตั้งว่าที่ยศ
5. การขอพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ 1. ตร. มีหนังสือสั่งแจ้งหน่วยต่างๆ รวบรวมรายชื่อข้าราชการตำรวจ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเสนอภายในกำหนด  ภายใน 5 วัน
2. สน./สภ./กก. เสนอรายชื่อพร้อมเอกสารประกอบ ผ่านผู้บังคับบัญชา  ตามลำดับชั้น ถึง ตร.
3. ตร. เสนอเรื่องถึงสำนักเลขารธิการคณะรัฐมนตรี
6. การขอรับบำเหน็จบำนาญหรือ    บำเหน็จตกทอด 1. ผู้มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญฯ หรือทายาทยื่นเรื่องต่อหัวหน้าสถานีตำรวจ /ผกก. พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ภายใน 5 วัน(ตร.มอบอำนาจให้ ผบก. เสนอเรื่องโดยตรงไปยังกรมบัญชีกลาง)
2. หัวหน้าสถานีตำรวจ/ผกก. ลงนามในเอกสารเสนอ ผบก.
7. การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการ 1. ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้อง พร้อมหลักฐานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณาลงนาม ภายใน 2 วัน
2. ผู้มีอำนาจลงนามในบัตร(ภูธรเป็นอำนาจของ ผบก.ภ.จว.)
8.การดำเนินการทางวินัยกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง  1. ผู้บังคับบัญชาต้นสั้งกัดกล่าวโทษ หรือตังคณะกรรมการสอบสวน ภายใน 30 วัน
2. ถ้าปรากฎมูลความผิดก็ให้ลงทัณฑ์ หรือถ้าไม่ผิดก็ให้ยุติเรื่อง
9. การดำเนินการทางวินัย กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง  1. ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการตำรวจตั้งแต่ชั้น พลตำรวจ ถึง จ่าสิบตำรวจ   ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดดำเนินการและพิจารณามีความเห็นในการลงโทษ  ภายใน  60  วัน
2. ผ้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการตำรวจชั้นยศแต่ ด.ต.-นายตำรวจชั้น    สัญญาบัตร ผบช.เป็นผู้สั่งตั้งกรรมการ และคณะกรรมการต้อง    สอบสวนให้เสร็จสิ้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2540)
10. การร้องทุกข์กรณีถูกลงทัณฑ์ 1. ผู้ถูกลงทัณฑ์ยื่นหนังสือทำเป็นคำชี้แจงเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง ภายใน 15 วัน
11. การขอให้พนักงานอัยการเป็นทนาย       แก้ต่างกรณีถูกฟ้องเนื่องจากการ      ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง 1. ยื่นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงให้ปรากฎรายละเอียดและข้อเท็จจริงว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ  ภายใน 2 วัน
12. การขอที่พักอาศัย (กรณีอาคารอิสระของ สภ.) 1. ข้าราชการตำรวจยื่นคำร้องพร้อมเอกสารเสนอต้นสังกัด  ภายใน 5 วัน  (เมื่อมีห้องว่างและคุณสมบัติครบถ้วน)
2. ต้นสังกัดตรวจสอบหลักฐานและจัดอันดับ
3. คณะกรรมการระดับ สภ.พิจารณาจัดเข้าพักอาศัย
13. การขอรับเงินจากมูลนิธิสงเคราะห์ข้าราชการตำรวจ  1. ข้าราชการตำรวจหรือทายาทยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานเสนอผู้บังคับบัญชา ตามลำดับชั้นจนถึงระดับ บก./ภ.จว. ภายใน 3 วัน
2. ผบก.ตรวจสอบหลักฐานแล้วเสนอ สก.สกพ. พิจารณา
3. คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ
14. การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล 1. ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับเงินค่ารักษาพยาบาล ยื่นคำร้องพร้อม     หลักฐาน เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณาจนถึง ภ.จว. พิจารณา ภายใน 2 วัน
2. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
3. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด อนุมัติ
4. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
15. การเบิกเงินค่าเล่าเรียนบุตร 1. ข้าราชการตำรวจที่ประสงค์ขอรับเงินค่าเล่าเรียนบุตรยื่นคำร้องพร้อม     หลักฐานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นพิจารณาจนถึง ภ.จว. พิจารณา ภายใน 2 วัน
2. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
3. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด อนุมัติ
4. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
16. การเบิกเงินค่าล่วงเวลา 1. ผกก.สภ.ออกคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ภายใน 4 วัน
2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเสนอเรื่องถึง ผกก.สภ. พร้อมหลักฐาน     การลงเวลาปฏิบัติราชการลงนาม เสนอ ภ.จว. พิจาราณา
3. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
4. กรมบัญชีหรือคลังจังหวัด อนุมัติ
5. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
17. การเบิกเงินตอบแทนพนักงาน      สอบสวน 1. พนักงานสอบสวนยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ธุรการ ภายใน 2 วัน
2. เจ้าหน้าที่ธุรการตรวจสอบความถูกต้อง เสนอ ผกก. ลงนามเสนอ    ภ.จว.พิจารณา
3. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
4. กรมบัญชีหรือคลังจังหวัด อนุมัติ
5. ผบก. อนุมัติจ่ายเงิน
18. การเบิกเงินรางวัลจราจร 1. เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมยอดเงินผู้ชำระค่าปรับ ซึ่งต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นร้อยละ 50 เป็นส่วนของตำรวจร้อยละ 50 เสนอ ผกก.ลงนามเอกสาร ลงนามเสนอ ภ.จว. พิจารณา ภายใน 2 วัน
2. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
3. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัดอนุมัติ
4. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
19. การเบิกเงินสินบนการพนัน 1. เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมบัญชีผลการพิพากษาของศาล แล้วให้ผู้เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วลงนามในเอกสาร ภายใน 2 วัน
2. ผกก. ลงนามในเอกสารเสนอ ภ.จว. พิจารณา
3. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
4. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัดอนุมัติ
5. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
20. การเงินเบิกสินบน ยาเสพติด 1. เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมบัญชีผลการพิพากษาของศาล แล้วให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบความถูกต้อง แล้วลงนามในเอกสาร ภายใน 2 วัน
2. ผกก. ลงนามในเอกสารเสนอ ภ.จว. พิจารณา
3. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
4. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัดอนุมัติ
5. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน
21. การเบิกเงินค่าตอบแทนศูนย์พิทักษ์ เด็ก สตรีและคนชรา  1. เจ้าหน้าที่ธุรการรวบรวมข้อมูลจากนักจิตวิทยา แล้วให้ผู้เกี่ยวข้อง    ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วลงนามในเอกสาร ภายใน 2 วัน
2. ผกก. ลงนามในเอกสารเสนอ ภ.จว. พิจารณา
3. ภ.จว. ตรวจสอบและวางฎีกาไปกรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัด
4. กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัดอนุมัติ
5. ผบก.อนุมัติจ่ายเงิน

กลับหน้าหลัก